เกี่ยวกับสำนักงาน

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่

เกี่ยวกับสำนักงาน /
31 ธันวาคม 2565 /
จำนวนผู้ชม : 825 ครั้ง
 

โครงสร้างกระทรวง

19364

 

โครงสร้างสำนักงานสถิติแห่งชาติ

19364 2

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 36 และมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน     พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงกำหนดโครงสร้างการแบ่งงานภายใน หน้าที่และอำนาจของส่วนราชการ ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 ดังนี้

ราชการบริหารส่วนกลาง​

สำนักงานเลขานุการกรม

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้
  1. ดำเนินการ พัฒนา และจัดทำเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไป งานสารบรรณ งานช่วยอำนวยการ และงานเลขานุการของสำนักงาน
  2. ดำเนินการวางแผนกำลังคน จัดระบบงานบริหารงานบุคคล และการเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรม
  3. พัฒนาบุคลากรและบริหารองค์ความรู้ของสำนักงานให้แก่ข้าราชการของสำนักงานและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  4. ดำเนินการพัฒนาและจัดระบบงานการเงิน การบัญชี การบริหาร การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงาน
  5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานกฎหมาย งานนิติกรรมสัญญา งานเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญา การดำเนินการทางวินัย ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และคดีปกครอง
  6. จัดทำแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลการปฏิบัติงานและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานของสำนักงาน
  7. ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนการปฏิบัติราชการ และการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ระดับความสำเร็จของงาน
  8. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

กองนโยบายและวิชาการสถิติ

 มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ
  2. ประสานงาน และหารือร่วมในการจัดทำสถิติของหน่วยงานให้สอดคล้องกับแผนแม่บทเกี่ยวกับการดำเนินงานทางสถิติของรัฐ และให้สอดคล้องกับแผนกำหนดความรับผิดชอบในการดำเนินงานทางสถิติตามแผนแม่บทตาม (๑)
  3. จัดทำแผนสถิติ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายของสำนักงาน
  4. จัดทำเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพสถิติ สำหรับการจัดทำสถิติของประเทศ รวมทั้งประเมินและพัฒนาคุณภาพสถิติทางการ
  5. จัดทำ ประสานการจัดทำ และพัฒนามาตรฐานสถิติของประเทศให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
  6. ศึกษา พัฒนา และส่งเสริมวิชาการสถิติ สำหรับการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดทำสถิติ
  7. บริหารจัดการระบบฐานข้อมูลกรอบตัวอย่างสำหรับการสำรวจของสำนักงาน
  8. กำหนดกระบวนการสุ่มตัวอย่างและวิธีประมาณค่าสถิติที่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินระดับความคลาดเคลื่อนของสถิติ
  9. กำหนดรูปแบบและหลักเกณฑ์การจัดทำแผนที่สถิติสำหรับการจัดเก็บข้อมูล
  10. ​ประสานและร่วมมือกับหน่วยงานต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ ในงานเกี่ยวกับสถิติ
  11. เผยแพร่ เสริมสร้างความเข้าใจ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบสถิติ
  12. ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือตามที่ได้รับมอบหมาย​

กองบริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติ

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. วางแผนและเตรียมงานเพื่อการจัดเก็บข้อมูล
  2. ปรับปรุงและพัฒนาแผนที่สถิติด้วยระบบดิจิทัล เพื่อใช้ในโครงการสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง
  3. บริหารจัดเก็บข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และความคิดเห็นของประชาชนต่อนโยบายหรือโครงการภาครัฐ
  4. ประสานเครือข่ายกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในการดำเนินงานสถิติ
  5. ควบคุมคุณภาพข้อมูลโครงการสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง
  6. ให้คำปรึกษาแนะนำการบริหารจัดเก็บข้อมูลโครงการสำมะโนหรือสำรวจตัวอย่าง แก่หน่วยสถิติอื่นๆ
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

กองสถิติพยากรณ์

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำสถิติเพื่อสนับสนุน ติดตาม และประเมินผลแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
  2. จัดทำดัชนี เครื่องชี้วัด ข้อมูลแนวโน้ม และคาดการณ์ภาวะด้านเศรษฐกิจและสังคม
  3. วิเคราะห์ พัฒนา ส่งเสริมการใช้ข้อมูลและสถิติแนวโน้ม การคาดการณ์ภาวะด้านเศรษฐกิจและสังคมเพื่อสนับสนุนนโยบายและยุทธศาสตร์
  4. รวบรวมและบูรณาการข้อมูลและสถิติด้านเศรษฐกิจและสังคมจากหน่วยงานต่าง ๆ
  5. จัดทำการนำเสนอข้อมูลและสถิติ   ในรูปแบบต่าง ๆ
  6. เผยแพร่และให้บริการข้อมูลและสถิติแก่ผู้ใช้ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งงานห้องสมุด
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ ได้รับมอบหมาย

กองสถิติเศรษฐกิจ

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำข้อมูลสถิติพื้นฐานด้านเศรษฐกิจในระดับมหภาคและระดับย่อย ด้วยวิธีสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างเพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล และเฝ้าระวังทางด้านเศรษฐกิจ
  2. พัฒนาการจัดทำสถิติ และส่งเสริมการใช้ข้อมูลสถิติด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
  3. ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ในการวางแผนจัดทำสถิติด้านเศรษฐกิจ
  4. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านเศรษฐกิจ
  5. ประสานและให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและหน่วยงานภายนอกในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านเศรษฐกิจ
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

กองสถิติสาธารณมติ

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล และยุทธศาสตร์ต่างๆ ด้วยวิธีการสำรวจตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล และตัดสินใจ
  2. จัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชนตามความต้องการของหน่วยงานด้วยวิธีการสำรวจตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนและการบริหารงาน
  3. ส่งเสริมวิธีการจัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชน โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการ
  4. จัดทำข้อมูลสถิติด้านความคิดเห็นของประชาชน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
  5. พัฒนา ส่งเสริมและให้คำปรึกษาแก่หน่วยงาน องค์กรเอกชน และบุคคลทั่วไป เกี่ยวกับการจัดทำการสำรวจตัวอย่างการประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูล
  6. ประสานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำการสำรวจตัวอย่างด้านความคิดเห็นของประชาชน
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย​

กองสถิติสังคม

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำข้อมูลสถิติพื้นฐานด้านประชากรและสังคม ด้วยวิธีสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่าง เพื่อใช้ในการวางแผน ติดตาม ประเมินผล และเฝ้าระวังทางสังคม
  2. พัฒนาวิธีการจัดทำสถิติ และส่งเสริมการใช้ข้อมูลด้านประชากรและสังคม
  3. ศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อใช้ในการวางแผนจัดทำสถิติด้านประชากรและสังคม
  4. ให้คำปรึกษาแนะนำแก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคลทั่วไป   ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านประชากรและสังคม
  5. ประสานและให้ความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศและหน่วยงานภายนอกในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำสำมะโนหรือการสำรวจตัวอย่างด้านประชากรและสังคม
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนะนโยบาย วางแผน กำกับ ดูแล ติดตามการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลระบบสารสนเทศสถิติ
  2. พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูลและเผยแพร่ระบบงานสารสนเทศเพื่อการบริหาร ระบบคลังข้อมูลและสถิติและบริหารจัดการฐานข้อมูลสำนักงาน
  3. บริหารจัดการ และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  4. จัดเตรียมข้อมูลจากสำมะโนและสำรวจตัวอย่าง บรรณาธิกรลงรหัส บันทึกข้อมูล และประมวลผลข้อมูล
  5. ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการดำเนินงานด้านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย และระบบสารสนเทศของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย​

ศูนย์สารสนเทศยุทธศาสตร์ภาครัฐ

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. จัดทำแผนโครงข่ายสารสนเทศของประเทศ เพื่อกำหนดขอบเขตการบูรณาการข้อมูลและการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
  2. บูรณาการข้อมูลจากทุกภาคส่วนทั้งระดับภารกิจและระดับพื้นที่ เพื่อให้มีข้อมูลและสารสนเทศที่สำคัญในฐานข้อมูลกลางของประเทศสำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน
  3. พัฒนามาตรฐานการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติตามกรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
  4. บริหารจัดการและพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลางด้านสถิติของประเทศ ระบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติ และระบบนำเสนอข้อมูลและสารสนเทศเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์
  5. วิเคราะห์และนำเสนอสารสนเทศด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
  6. ส่งเสริมและสนับสนุนการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติที่สำคัญของประเทศตามมาตรฐานสากลแก่หน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
  7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มตรวจสอบภายใน

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบการบริหาร การเงิน และการบัญชีของสำนักงาน
  2. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร

มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

  1. เสนอแนะให้คำปรึกษาแก่ผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการภายในสำนักงาน
  2. ติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการให้สำนักงาน
  3. ประสานและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการร่วมกับหน่วยงานกลางต่าง ๆ และหน่วยงานภายในสำนักงาน
  4. ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือตามที่ได้รับมอบหมาย

structur 01

structur 02

structur 03

ผู้บริหาร

manager

อำนาจหน้าที่

รายการที่เกี่ยวข้อง

กฎหมาย / ระเบียบ

24 เมษายน 2566

กฎกระทรวง

10 เมษายน 2566

พระราชบัญญัติ

10 เมษายน 2566